วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

เกาต์ เจ้าวายร้าย (1)


คุณรู้ไหมว่าโรคเกาต์เกิดจากอะไร แล้วทำไมคนที่เป็นต้องทนทุกข์ทรมานซ้ำซากกับอาการปวดเกาต์ วันนี้เรามารู้จักกันว่า โรคเกาต์คืออะไร มีสาเหตุ และ วิธีรักษาให้หายขาดทำอย่างไร

บทความที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องของแนวคิดในการรักษาเกาต์ โดย Hemen Ee 

วันนี้จะขอพูดให้เข้าใจกันง่ายๆนะครับว่า โรคเกาต์เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปและพิสูจน์แล้วว่ามันคือการมี Hyperuricemia (คือระดับกรดยูริกในเลือดสูง) และตกผลึกเป็นหนามแหลมไปทิ่มอยู่ตามข้อต่อและเนื้อเยื่อ เช่น ข้อนิ้วโป้งเท้า และข้อต่ออื่นๆ

โรคเกาต์ส่งผลโดยตรงมาจาก "อาหารที่คนกินสะสมในช่วงหลายปี" พวกอาหารที่มีโปรตีนสูงและเต็มไปด้วยพิวรีน ทั้งเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ พืชผักบางชนิด แอลกอฮอล ฯลฯ ซึ่งจะเข้าไปเพิ่มการผลิตกรดยูริกในร่างกาย เมื่อเลือดมีกรดยูริกมาก ระบายออกไม่ทันจนตกผลึกเป็นหนามแหลมทิ่มแทงตามข้อต่อและเนื้อเยื่อก็เกิดการอักเสบ ปวด บวม แดง ร้อน ทนทุกข์ทรมานจากอาการปวดเกาต์ 

โรคเกาต์ โดยทั่วไปจะมีคนบอกคุณว่าวิธีเดียวที่จะรักษาและบรรเทาอาการโรคเกาต์คือการใช้ยาและยาแก้ปวด แต่ผมไม่เห็นด้วย - มีวิธีธรรมชาติเพื่อบรรเทารักษาและป้องกันไม่ให้ตกอยู่ในสภาพที่ทนทุกข์ทรมานกับอาการเกต์นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

และคุณรู้หรือไม่ว่าการใช้ยารักษาอาการเกาต์อาจมีผลข้างเคียงร้ายกาจจนถึงขั้นทำให้คนกระเพาะทะลุ ไตวายต้องล้างไตตลอดชีวิต ผิวหนังไหม้เกรียมทั้งตัวจากการแพ้ยา จนจบลงด้วยการเสียชีวิตอย่างทุกข์ทรมาน 

มันสำคัญนะที่คุณจะต้อง รักษาความสมดุลย์ในการกินอาหารเพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้ร่างกายมีสภาพความเป็นกรดมากจนเกินไปจนทำให้อาการปวดเกาต์กำเริบ แต่ในความเป็นจริงคนที่เป็นโรคเกาต์จะตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาความสมดุลย์ของการกินอาหาร ก็หลังจากที่อาการปวดเกาต์ได้กำเริบ ปวด บวม แดง ร้อน ขึ้นมา จนปวดเกาต์บ่อยขึ้นและอาการปวดรุนแรงมากยิ่งขึ้น

 เรื่องราวแบบนี้ คุ้นๆว่าเคยเกิดขึ้นกับคุณ หรือคนที่เป็นเกาต์ที่คุณพยายามดูแลเค้าบ้างไหมครับ ทั้งๆ ที่รู้ว่าควรดูแลเรื่องการกินอาหาร อาการปวดเกาต์จะได้ไม่กำเริบ แต่ทำไมถึงทำไม่ได้ น่าสนใจมาก เอาไว้เรามาคุยกันในครั้งต่อไป เป็นกำลังใจให้ทุกคนหายจากการปวดเกาต์ครับ

 "ปวดเกาต์คิดถึงเรา" Gout Garden

www.facebook.com/goutgarden
www.goutgarden.com
www.goutgarden.blogspot.com
Line:goutgarden
Tel:0802372228, 0825221116

อาการโรคเก๊า, เก๊า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น